เกี่ยวกับบริษัท
เกี่ยวกับบริษัท
บริษัทเป็นหนึ่งในผู้นำระดับโลกด้านการบริการด้านอาหารแบบครบวงจร (food solutions) นำเสนอผลิตภัณฑ์อาหารและบริการด้านอาหารแก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมด้านอาหารและผู้บริโภคผ่านช่องทางที่หลากหลายของบริษัทฯ ในประเทศไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลก
เกี่ยวกับบริษัท
ธุรกิจ
โครงสร้างตามกลุ่มธุรกิจ
ด้วยผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายของบริษัท ในหมวดโปรตีนที่หลากหลายโดยมีผลิตภัณฑ์หลักได้แก่ เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อเป็ด ไข่ และผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืชเป็นต้น ผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายอันหลากหลายของบริษัท ตั้งแต่ช่องทางการขายปลีก ผู้ให้บริการด้านอาหาร และผู้จัดจำหน่ายขายส่ง ทำให้บริษัทอยู่ในสถานะที่ดีเหนือคู่แข่งของเรา
ธุรกิจ
ความยั่งยืน
บรรษัทภิบาลและการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน
ขับเคลื่อนองค์กรอย่างยั่งยืน ด้วยการสร้างความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม บนพื้นฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดี
ความมุ่งมั่น
our mision
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารบริษัท นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน
นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟจีเอสได้ที่นี่

คณะกรรมการบริหาร

คณะกรรมการของบริษัทประกอบด้วยกรรมการ จำนวน 10 คน ดังนี้
นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ
ประธานคณะกรรมการบริหาร
นายไพศาล จิระกิจเจริญ
รองประธานกรรมการบริหาร
นายวรวิทย์ เจนธนากุล
รองประธานกรรมการบริหาร
นางกอบบุญ ศรีชัย
กรรมการบริหาร
นายสุจริต มัยลาภ
กรรมการบริหาร
นายเอกปิยะ เอื้อวุฒิเกริก
กรรมการบริหาร
นายสุนทร จักษุกรรฐ์
กรรมการบริหาร
นายกิติศักดิ์ ลิ้มอำไพ
กรรมการบริหาร
นายเสริมชัย สกุลโรจนวงศ์
กรรมการบริหาร
นายปริญญา การุณยธร
กรรมการบริหาร

อำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหาร

อำนาจของคณะกรรมการ

1.การเข้าซื้อหรือขายกิจการโดยบริษัทหรือบริษัทย่อย

   1.1 การซื้อหรือได้มาซึ่งธุรกิจ หรือการควบรวมกิจการในรูปแบบการเข้าซื้อซึ่งเงินลงทุนในหุ้นหรือส่วนของทุนของนิติบุคคลใดๆ หรือทรัพย์สิน โดยบริษัทหรือบริษัทย่อย ที่มีมูลค่าของรายการไม่เกิน 200 ล้านบาท

   1.2 การขายหรือจำหน่ายไปซึ่งธุรกิจ ไม่ว่าในรูปแบบใดโดยบริษัทหรือบริษัทย่อย ที่มีมูลค่าของรายการไม่เกิน 200 ล้านบาท

   1.3 การปรับโครงสร้างการลงทุนหรือโครงสร้างการถือหุ้นภายในกลุ่มบริษัท โดยการซื้อขายหุ้น ซื้อขายกิจการ หรือการควบรวมกิจการภายในกลุ่มบริษัท

2.รายจ่ายฝ่ายทุน (Capital Expenditure)

   2.1 การขอใช้รายจ่ายฝ่ายทุนของบริษัทหรือบริษัทย่อยที่อยู่ในงบประมาณประจำปีที่ผ่านการอนุมัติแล้ว  ซึ่งมีมูลค่าของโครงการมากกว่า 50 ล้านบาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 200 ล้านบาท

   2.2 การขออนุมัติและขอใช้รายจ่ายฝ่ายทุนของบริษัทหรือบริษัทย่อย ที่อยู่ในงบประมาณประจำปีที่ผ่านการอนุมัติแล้ว แต่มีการใช้เกินงบประมาณมากกว่าร้อยละ 10 และมูลค่ารวมของโครงการภายหลังการใช้เกินงบประมาณมีมูลค่ามากกว่า 50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 200 ล้านบาท

   2.3 การขออนุมัติและขอใช้รายจ่ายฝ่ายทุนที่ไม่ได้อยู่ในงบประมาณประจำปีของบริษัทหรือบริษัทย่อย ซึ่งมีมูลค่าของโครงการมากกว่า 25 ล้านบาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท  

   2.4 การเข้าทำธุรกรรมของบริษัทที่ต้องจดทะเบียนนิติกรรมกับสำนักงานที่ดิน

3. การฟื้นฟูกิจการ เลิกกิจการ หรือชำระบัญชีของบริษัทย่อย

4. ด้านการบริหารการเงินและการบัญชี

    4.1 การรับวงเงินสินเชื่อการค้า / สินเชื่อหมุนเวียน ระหว่างบริษัท กับสถาบันการเงิน

    4.2 การรับวงเงินกู้ยืมหรือการให้วงเงินกู้ยืมระยะยาวระหว่างบริษัทกับบริษัทย่อย

    4.3 การรับวงเงินกู้ยืมหรือการให้วงเงินกู้ยืมระหว่างบริษัทหรือบริษัทย่อย กับบริษัทร่วม

    4.4 การบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยที่มีการเปิดความเสี่ยงบางส่วนของบริษัทหรือบริษัทย่อย

    4.5 การก่อภาระผูกพัน โดยการจำนอง จำนำ หรือก่อให้เกิดภาระติดพันอื่นๆ หรือทำประกันเหนือสินทรัพย์ของบริษัทย่อย 

    4.6 การขอวงเงินหุ้นกู้ วงเงินตั๋วแลกเงิน และตราสารหนี้อื่นๆ ของบริษัทย่อย

    4.7 การเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท

    4.8 การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีของบริษัทที่ให้ทางเลือกและมีผลกระทบต่องบการเงินอย่างมีสาระสำคัญ

    4.9 การขายหรือจำหน่ายจ่ายโอนสินทรัพย์ ที่ไม่ใช้งานแล้วให้บุคคลอื่น 

    4.10 การตัดจำหน่ายสินทรัพย์ถาวร ที่สูญหายหรือเสียหายออกจากบัญชีของบริษัทหรือบริษัทย่อย ที่มีมูลค่าตามราคาทุนเกิน 50 ล้านบาทขึ้นไป

5. ด้านบุคลากร

     5.1 การแต่งตั้ง ถอดถอน และกำหนดค่าตอบแทนของกรรมการบริษัทย่อยที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่อนุมัติโดยคณะกรรมการบริษัท

     5.2 การเสนอชื่อ แต่งตั้ง ถอดถอน กรรมการบริษัทร่วม และ/หรือ บริษัทที่มีสัญญาร่วมทุน ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามสิทธิของบริษัทหรือบริษัทย่อย ที่มีตามสัญญาร่วมทุน หรือตามกฎหมาย

     5.3 การแต่งตั้ง ถอดถอน และกำหนดค่าตอบแทนของกรรมการผู้จัดการ (President) หรือเทียบเท่าของบริษัทย่อย

     5.4 แผนการพัฒนาบุคลากร การสร้างผู้สืบทอดตำแหน่ง การแต่งตั้ง โยกย้าย หลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงาน การกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายผลตอบแทน และการปรับเงินเดือนและผลประโยชน์อื่นของผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารสูงสุดลำดับแรกนับต่อจากกรรมการผู้จัดการลงมา และผู้บริหารสูงสุดของสายงานหลัก (Business Unit Head) ของบริษัท

     5.5 การกำหนดนโยบายด้านค่าตอบแทนและผลประโยชน์ของพนักงาน

หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหาร

1. กลั่นกรองเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษัทย่อย หรือคณะกรรมการชุดย่อย (แล้วแต่กรณี) พิจารณาอนุมัติในเรื่องดังต่อไปนี้

     1.1 กลยุทธ์องค์กร เป้าหมาย & แผนธุรกิจระยะยาว  และงบประมาณประจำปีของกลุ่มบริษัท

     1.2 การเพิ่มทุนหรือลดทุนของบริษัท บริษัทย่อย หรือของบริษัทร่วมที่บริษัทหรือบริษัทย่อยเป็นผู้ถือหุ้น

     1.3 การแปรสภาพบริษัทย่อยเป็นบริษัทมหาชน และนำบริษัทย่อยเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

     1.4 การตั้งบริษัทย่อยใหม่

     1.5 การนำบริษัทย่อยออกจากการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (De-listing)

     1.6 การซื้อหรือได้มาซึ่งธุรกิจ หรือการควบรวมกิจการในรูปแบบการเข้าซื้อซึ่งเงินลงทุนในหุ้นหรือส่วนของทุนของนิติบุคคลใดๆ หรือทรัพย์สิน โดยบริษัทหรือบริษัทย่อย ที่มีมูลค่าของรายการเกิน 200 ล้านบาทขึ้นไป

      1.7 การขายหรือจำหน่ายไปซึ่งธุรกิจ ไม่ว่าในรูปแบบใดโดยบริษัทหรือบริษัทย่อย ที่มีมูลค่าของรายการเกิน 200 ล้านบาทขึ้นไป

      1.8 การขอใช้รายจ่ายฝ่ายทุนของบริษัทหรือบริษัทย่อยที่อยู่ในงบประมาณประจำปีที่ผ่านการอนุมัติแล้ว  ซึ่งมีมูลค่าของโครงการเกิน 200 ล้านบาทขึ้นไป

      1.9 การขออนุมัติและขอใช้รายจ่ายฝ่ายทุนของบริษัทหรือบริษัทย่อยที่อยู่ในงบประมาณประจำปีที่ผ่านการอนุมัติแล้ว  แต่มีการใช้เกินงบประมาณมากกว่าร้อยละ 10 และมูลค่ารวมของโครงการภายหลังการใช้เกินงบประมาณมีมูลค่าเกิน 200 ล้านบาทขึ้นไป

       1.10 การขออนุมัติและขอใช้รายจ่ายฝ่ายทุนที่ไม่ได้อยู่ในงบประมาณประจำปีของบริษัทหรือบริษัทย่อย ซึ่งมีมูลค่าของโครงการเกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป

       1.11 การรับวงเงินกู้ระยะยาวของบริษัทจากธนาคาร/สถาบันการเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ

       1.12 การก่อภาระผูกพัน โดยการจำนอง จำนำ หรือก่อให้เกิดภาระติดพันอื่นๆ หรือทำประกันเหนือสินทรัพย์ของบริษัท

       1.13 การขอวงเงินหุ้นกู้ ตั๋วแลกเงิน และตราสารหนี้อื่นๆ ของบริษัท

       1.14 การขายหรือจำหน่ายจ่ายโอนที่ดิน อาคาร และสิ่งปลูกสร้าง ที่ไม่ใช้งานแล้วให้บุคคลอื่นของบริษัทหรือบริษัทย่อย ที่มีมูลค่าตามราคาประเมินเกิน 200 ล้านบาทขึ้นไป

       1.15 การเสนอแต่งตั้ง ถอดถอน ประเมินผลการปฏิบัติงานและกำหนดแผนผู้สืบทอดตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของบริษัท

       1.16 การเสนอแต่งตั้ง ถอดถอน ตำแหน่งเลขานุการของบริษัท

       1.17 การแก้ไขคู่มือกำหนดขอบเขต อำนาจหน้าที่ และวงเงินของกรรมการและผู้บริหาร  ของบริษัทและบริษัทย่อย

       1.18 การอนุมัติจรรยาบรรณธุรกิจ เป้าหมายและนโยบายหลักระดับกลุ่มบริษัท

       1.19 แผนงานบริหารความเสี่ยงประจำปีของกลุ่มบริษัท                 

       1.20 แผนงานการกำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ประจำปีของกลุ่มบริษัท

2. ติดตามการดำเนินงานของฝ่ายบริหารในเรื่องดังต่อไปนี้

        2.1 ผลการดำเนินงานของบริษัทให้เป็นไปตามเป้าหมาย แผนธุรกิจระยะยาว และงบประมาณประจำปี

        2.2 ความคืบหน้าของโครงการลงทุน และผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริงเปรียบเทียบกับงบประมาณของโครงการลงทุนนั้นๆ

        2.3 การดำเนินการตามแผนการพัฒนาบุคลากร

3. รายงานรายการที่ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารตามที่ได้รับการมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท

4. ปฏิบัติการใดๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท

 

www.cpfgs.co.th ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x