เกี่ยวกับบริษัท
เกี่ยวกับบริษัท
บริษัทเป็นหนึ่งในผู้นำระดับโลกด้านการบริการด้านอาหารแบบครบวงจร (food solutions) นำเสนอผลิตภัณฑ์อาหารและบริการด้านอาหารแก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมด้านอาหารและผู้บริโภคผ่านช่องทางที่หลากหลายของบริษัทฯ ในประเทศไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลก
เกี่ยวกับบริษัท
ธุรกิจ
โครงสร้างตามกลุ่มธุรกิจ
ด้วยผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายของบริษัท ในหมวดโปรตีนที่หลากหลายโดยมีผลิตภัณฑ์หลักได้แก่ เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อเป็ด ไข่ และผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืชเป็นต้น ผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายอันหลากหลายของบริษัท ตั้งแต่ช่องทางการขายปลีก ผู้ให้บริการด้านอาหาร และผู้จัดจำหน่ายขายส่ง ทำให้บริษัทอยู่ในสถานะที่ดีเหนือคู่แข่งของเรา
ธุรกิจ
ความยั่งยืน
บรรษัทภิบาลและการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน
ขับเคลื่อนองค์กรอย่างยั่งยืน ด้วยการสร้างความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม บนพื้นฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดี
ความมุ่งมั่น
our mision
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารบริษัท นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน
นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟจีเอสได้ที่นี่

คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง

คณะกรรมการของบริษัทประกอบด้วยกรรมการอิสระ จำนวน 3 คน ดังนี้
นายบุญศักดิ์ เจียมปรีชา
ประธานคณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง
นายสมบัติ เดียวอิศเรศ
กรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง
ศ.ดร.ศักดา ธนิตกุล
กรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง

อำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง

  • อำนาจของคณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง
    คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงมีอำนาจดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
    - อำนาจในการเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการสอบทานรายงานทางการเงิน ระบบการควบคุมภายในและระบบการตรวจสอบภายในของบริษัท
    - อำนาจในการเชิญผู้บริหารซึ่งรับผิดชอบโดยตรงในประเด็นที่พิจารณามาเข้าร่วมประชุมและเสนอรายงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่พิจารณานั้น
    - อำนาจในการว่าจ้างที่ปรึกษาจากภายนอก หรือผู้เชี่ยวชาญทางวิชาชีพมาช่วยให้คำแนะนำหรือช่วยในการปฏิบัติงานโดยบริษัทเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย

  • หน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง 
    คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงมีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้
    - สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ
    - สอบทานให้บริษัทมีการควบคุมภายใน และการตรวจสอบภายในที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล
    - สอบทานให้บริษัท และผู้บริหารปฏิบัติตามนโยบายและกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงรวมถึงระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
    - สอบทานความเพียงพอและประสิทธิผลของนโยบายและกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงโดยรวม รวมถึงระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ อย่างน้อยปีละครั้ง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ
    - สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
    พิจารณาความเป็นอิสระของสำนักตรวจสอบภายใน ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้าง รวมทั้งประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารสูงสุดของสำนักตรวจสอบภายใน
    - พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท และเสนอค่าตอบแทนของบุคคลดังกล่าว ตลอดจนการเลิกจ้างผู้สอบบัญชี รวมทั้งเข้าประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
    - พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท
    - จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงและต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
       (ก)    ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน และเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของบริษัท
       (ข)    ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอและประสิทธิภาพของระบบการควบคุมภายในของบริษัท
       (ค)    ความเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารความเสี่ยงของบริษัทโดยรวม
       (ง)     ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์  กฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์
                และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
       (จ)     ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี
       (ฉ)    ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
       (ช)    จำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง และการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงแต่ละคน
       (ซ)    ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตรฉบับนี้
       (ฌ)    เรื่องอื่นที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบ ภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
    - สอบทานรายงานเรื่องร้องเรียนและการแจ้งเบาะแส
    - ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง
     

    ทั้งนี้  ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 2 คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงมีความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัทโดยตรง และคณะกรรมการบริษัทยังคงมีความรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทต่อบุคคลภายนอก

    กรณีคณะกรรมการบริษัทมีมติเปลี่ยนแปลงอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง ให้เลขานุการบริษัทแจ้งมติดังกล่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ภายในกำหนดเวลาและโดยวิธีการตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์

www.cpfgs.co.th ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x